นิรันดร์ ค้าโค g4

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยอาณาจักรขอมที่ใหญ่โตและงดงาม



 

ประวัติ

เมืองพิมายเป็นเมืองที่สร้างตามแบบแผนของศิลปะขอม มีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยม ชื่อ พิมาย น่าจะมาจากคำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระ ที่ปรากฏในจารึกภาษาขอมบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะสร้างบ่งบอกว่า ปราสาทหินพิมายคงเริ่มสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในฐานะเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ รูปแบบของศิลปะเป็นแบบบาปวนผสมผสานกับศิลปะแบบนครวัด ซึ่งหมายถึงปราสาทนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นสถานที่ทางศาสนาพุทธในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
เมื่ออิทธิพลของวัฒนธรรมขอมเริ่มเสื่อมลงหลังรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยในเวลาต่อมา เมืองพิมายคงจะหมดความสำคัญลง และหายไปในที่สุด เนื่องไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเมืองพิมายเลยในสมัยสุโขทัย
ในปี พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทหินพิมายเป็นโบราณสถาน และได้จัดตั้งเป็น อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยได้ดำเนินการปรับปรุงจัดตั้งถึง 13 ปี ร่วมมือกันระหว่างกรมศิลปากร และประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519-2532 ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ พระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยาน

Photobucket
 Photobucket
Photobucket
Photobucket

โบราณสถาน

ตัวอุทยานตั้งอยู่ฟากทิศตะวันออกของแม่น้ำมูล บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร ลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทหินอื่นๆที่มักหันไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางตัดมาจากเมืองยโศธรปุระ เมืองหลวงในสมัยนั้นของขอม ซึ่งเข้ามาสู้เมืองพิมายทางทิศใต้

 Photobucket

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง


อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง


อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่



ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18
จารึกต่าง ๆ ที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (พ.ศ. 1487-1511) ได้สถาปนาเทวาลัยถวายพระอิศวรที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรก ๆ คงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง


phanomrung sun พนมรุ้งในหนังสือ 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน

สถาปัตยกรรมและโบราณสถาน
ปราสาทหินพนมรุ้งสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ซึ่งนับถือ พระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด ดังนั้นเขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ
องค์ประกอบและแผนผังของปราสาทพนมรุ้งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวเส้นตรง และเน้นความสำคัญเข้าหาจุดศูนย์กลาง นั่นคือปราสาทประธานซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านขวาของบันไดทางขึ้นสู่ศาสนสถานมีอาคารที่เรียกว่า พลับพลา อาคารนี้อาจจะเป็นอาคารที่เรียกกันในปัจจุบันว่า พลับพลาเปลื้องเครื่อง ซึ่งเป็นที่พักจัดเตรียมองค์ของพระมหากษัตริย์ ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้าหรือประกอบพิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน


อ้างอิงจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87

ปราสาทเขาพระวิหาร


ปราสาทพระวิหาร



ปราสาทพระวิหาร (​เขมร: ប្រាសាទ​ព្រះវិហារ; เปรี๊ยะ วิเฮียร์ - สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์; อังกฤษ: Temple of Preah Vihear) เป็นปราสาทหินตามแบบศาสนาฮินดูที่ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก (ภาษาเขมรว่า พนมดงเร็ก อันหมายถึง ภูเขาไม้คาน) สูงจากระดับทะเลปานกลาง 657 เมตร ที่ตั้งของศาสนสถานแห่งนี้รู้จักกันในนาม พนมพระวิหาร อันหมายถึง บรรพตแห่งศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ใกล้อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ อันเป็นทางขึ้นสู่ปราสาทที่สะดวกที่สุด
ปราสาทพระวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบเขมร สร้างตามแนวเหนือใต้ซึ่งผิดแปลกไปจากปราสาทขอมส่วนใหญ่ ไทยและกัมพูชามีประวัติพิพาทเหนือตัวปราสาทเป็นเวลานานแล้ว ใน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิพากษาให้กัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาท (ดู คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505) และวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในประเทศกัมพูชา



ปราสาทพระวิหารประกอบด้วยหมู่เทวาลัยและปราสาทหินจำนวนมาก เทวาลัยหรือปราสาทหินแห่งแรกสร้างขึ้นเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซากปรักหักพังของเทวาลัยที่เหลืออยู่ มีอายุตั้งแต่สมัยเกาะแกร์ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 ครั้นเมื่อนครหลวงของอาณาจักรขอมอยู่ใกล้ คือ ที่นครวัด นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบบางประการในรูปแบบศิลปะของปราสาทบันทายศรี ตามหลักจารึกที่ค้บพบ 3 หลักคือ จารึกศิวะศักติ จารึกหมายเลข K380 และ K381 เชื่อว่าเริ่มก่อสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1432-1443) และเป็นรูปร่างเมื่อในสมัยพระเจ้ายโศวรมัน ซึ่งสถาปนาศรีศิขเรศวร ในปี พ.ศ. 1436 แต่โครงสร้างส่วนใหญ่ของปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (มีพระนามจารึกที่กรอบประตูโคปุระชั้นที่ 2 ว่า "สูรยวรรมเทวะ" และปีที่สร้างแล้วเสร็จในสมัยของพระองค์ตามจารึกคือ พ.ศ. 1581) และพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 ตามลำดับ ปราสาทพระวิหารสร้างด้วยศิลาทรายซึ่งสกัดจากบริเวณเทือกเขาพนมดงรักนี้ และวัสดุก่อสร้างอื่น ได้แก่ อิฐเผาและ "ไดทะมะป้วก" (ดินเหนียวคล้ายหิน) ปัจจุบันปราสาทหลงเหลือแต่เพียงซากปรักหักพัง แต่ทว่ายังมีอาคารปราสาทเหลืออยู่อีกหลายแห่ง


อ้างอิงจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3

ธรรมศาลา




ธรรมศาลาหรือบ้านมีไฟ
           เป็นสิ่งก่อสร้างควบคู่กับถนนสายราชมรรคา คือที่พักสำหรับคนเดินทาง จากเมืองพระนคร (กัมพูชา) ไปยังเมืองพิมาย
"วหนิคฤหะ" ในจารึกปราสาทพระขรรค์แปลว่า "บ้านมีไฟ" นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสเป็นผู้เรียกบ้านมีไฟว่า "ธรรมศาลา" ลักษณะเป็นห้องยาวหันหน้าทางด้านตะวันออก มียอดทรงปราสาทด้านตะวันตก ผนังด้านทิศใต้มีหน้าต่าง ส่วนทิศเหนือเป็นหน้าต่างหลอก หรือเป็นผนังเปล่า มีบารายหรือสระน้ำประจำธรรมศาลา




 เส้นทางราชมรรคาสายเหนือ เริ่มต้นจากเมืองพระนครธม ขึ้นมาที่จุดตัดของลำน้ำหลายสาย ที่มีต้นน้ำมาจากเทือกเขาพนมดงรักก่อนไหลลงโตนเลสาบ (ทะเลสาบเขมร) ผ่านที่ราบกว้างใหญ่ เข้าสู่ช่องจอม มีร่องรอยของธรรมศาลาตามเส้นทางอยู่จำนวน 9 แห่ง สำรวจพบชัดเจนเพียง 6 แห่ง เท่านั้น

        เส้นทางราชมรรคาในประเทศไทย เริ่มต้นจากช่องจอม อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ มีธรรมศาลา "ตาเมือน" เป็นธรรมศาลาแรก เดินทางขึ้นเหนือไปสิ้นสุดที่เมือง วิมายุประ หรือปราสาทหินพิมาย มีการค้นพบธรรมศาลา ที่น่าจะตั้งอยู่ตามเส้นทางหลวงนี้ในประเทศไทยทั้งหมด 9 แห่ง


วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สิมอีสาน (วัดป่าแสงอรุณ)

สิมอีสาน

(วัดป่าแสงอรุณ)

ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดป่าแสงอรุณ ตำบลพระลับ ห่างจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่นประมาณ 3 กิโลเมตร ตามเส้นทางขอนแก่น-กาฬสินธุ์ สิมอีสาน ได้เน้นถึงรูปแบบ ทรวดทรง ความมั่นคงสามารถคุ้มแดดคุ้มฝน ตลอดจนความวิจิตรงดงามของภาพเขียนฝาผนังลายผ้าไหมมัดหมี่ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดขอนแก่น เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้และอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่น อันเป็นการปลูกฝังแนวความคิดสร้างสรรค์ที่ดีต่อไป อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดขอนแก่นตลอดไป

อ้างอิง จาก
http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=202698&page=1003 
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99_(%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%93)

วัดศาลาลอย

วัดศาลาลอย

วัดศาลาลอย ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นวัดเก่าแก่ที่ท้าวสุรนารีสร้างขึ้นภายหลังจากรบชนะกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2370 ซึ่งได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และอนุสรณ์สถานเจดีย์บรรจุอัฐิท้าวสุรนารีขึ้นภายในวัด ภายหลังที่ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว จุดเด่นของวัดนี้ อยู่ที่อุโบสถหลังใหม่ ที่ได้รับรางวัลดีเด่นแนวบุกเบิกอาคารทางศาสนา จากสมาคมสถาปนิกสยามปี พ.ศ. 2516 และรางวัลจากมูลนิธิเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป ใช้วัสดุพื้นเมืองคือกระเบื้องดินเผาด่านเกวียนนำมาประดับตกแต่ง เช่น ผนังด้านหน้าอุโบสถเป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ผนังด้านหลังเป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ส่วนบานประตูเป็นโลหะลายนูน ภาพเล่าเรื่องเวชสันดรชาดก (13 กัณฑ์) ภายในมีพระประธานปูนปั้นสีขาว ปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธรูปยืนประทับ ณ ประตูเมืองสังกัสนคร พระนามว่า"พระพุทธประพัฒน์สุนทรธรรมพิศาล ศาลาลอยพิมาลวรสันติสุขมุนินทร์" หน้าประตูอุโบสถมีปูนปั้นรูปท้าวสุรนารีนั่งพนมมือกลางสระน้ำ ตัวอุโบสถล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วรูปเสมา สัญลักษณ์ของเมืองเสมาเดิม ด้านข้างมีสถูปขนาดเล็กซึ่งเคยใช้เป็นที่บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี

ความเป็นมา

วัดศาลาลอย เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวโคราชเคารพนับถือเป็นอย่างมากเป็นเวลากว่า 200 ปี เมื่อครั้งท้าวสุรนารี หรือ ย่าโม เสร็จศึกสงครามจากทุ่งสัมฤทธิ์ ขณะยกทัพกลับเมืองนครราชสีมา ได้แวะพักบริเวณท่าตะโก และได้สั่งให้ทหารทำแพเป็นรูปศาลาเสี่ยงทายลอยไปตามลำตะคอง พร้อมตั้งจิตอธิฐาน หากแพรูปศาลานี้ ลอยไปติดอยู่ ณ ที่แห่งใด จะสร้างวัดไว้เป็นอนุสรณ์ ซึ่งแพได้ลอยไปติดอยู่ริมฝั่งขวาของลำตะคอง ซึ่งเป็นวัดร้าง จึงได้สร้างพระอุโบสถ เป็นวัดศาลาลอยในปัจจุบัน และยังเป็นที่บรรจุอัฐิท้าวสุรนารีภายในวัด ท่านได้นมัสการพระประธาน และพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ อุโบสถหลังเก่า พร้อมชมศิลปะประยุกต์ อุโบสถ์เรือสำเภาประดับด้วยกระเบื้องดินเผาด่านเกวียนด้วย วัดแห่งนี้จึงเป็นที่เคารพสักการะของชาวโคราชสืบมาจนถึงปัจจุบัน
วัดศาลาลอย

อโรคยาศาล

ความหมายของอโรคยศาล         “อโรคยศาล”  มีความหมายตรงว่า  สถานที่ซึ่งปราศจากโรค  หมายถึง สถานอภิบาลพักฟื้นผู้ป่วยด้วยสมุนไพรตามธรรมชาติไปจนกว่าอาการของผู้ป่วยจะทุเลาเบาบางลงไป หรือหมดไปสิ้นไปด้วยวิถีแห่งธรรมะและธรรมชาติบำบัดและหรือการแพทย์แบบองค์รวม  โดยมีความเป็นมาจากอารยธรรมขอม ซึ่งมีปรากฎบนหลักฐานตามตามบันทึกยุคสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7  ซึ่งมีการเกณฑ์ผู้คนมากมายในการสร้างปราสาทวิหาร  การก่อสร้างก็ใช้ระยะเวลาในการสร้างยาวนานหลายสิบปี ผู้คนมากมายต่างก็ล้มป่วยด้วยโรคต่าง ๆ นานาชนิด  จึงเกิดความเชื่ออย่างหนึ่งว่า  ถ้ามีการก่อสร้างปราสาทหินต่าง ๆ  ให้จัดสถานที่อภิบาล  บำบัดรักษาผู้ป่วยก่อน  ซึ่งสถานที่นี้เรียกว่า อโรคยศาล  เพื่อให้ผู้คนหายจากอาการเจ็บป่วยและมีเรี่ยวแรงในการสร้างปราสาทวิหารสำเร็จต่อไป
         แต่ในปัจจุบัน ถ้าพูดถึงคำว่า “อโรคยศาล”  ต้องนึกถึงอโรคยศาลวัดคำประมง  หรือ THAI HERBAL NURSING HOME  :  สถานอภิบาลพักฟื้นผู้ป่วยด้วยสมุนไพรตามธรรมชาติ  ตั้งอยู่  ณ  วัดคำประมง ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งหมายถึง  สถานที่ทำการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งแบบองค์รวม กล่าวคือผสมผสานระหว่างการแพทย์แผนไทย(สมุนไพร), การแพทย์แบบแผน, การแพทย์แผนจีน(การฝังเข็ม), สมาธิบำบัด, ดนตรีบำบัด, ธรรมะบำบัด, มนตราบำบัด, และอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นต้น
         เป้าหมายของการรักษาที่อโรคยศาลแห่งนี้ ไม่ได้อยู่ที่จะรักษาโรคให้หายหรือทุเลาเบาบางลงไปแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่อยู่ที่สามารถตอบสนองความต้องการตามธรรมชาติของผู้ป่วย ที่ต้องการความเข้าใจชีวิตและมีความสุขในช่วงที่เจ็บป่วย ถ้าหากว่าจะต้องเสียชีวิตก็เสียชีวิตไปอย่างสุขสงบ (ตายแบบยิ้มได้) ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติตามแนวทางศาสนาและวิทยาศาสตร์การแพทย์ ญาติและผู้ป่วยก็จะได้รับประโยชน์จากการช่วยดูแลผู้ป่วย ซึ่งจะมีผลในการปรับทัศนคติในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข และสามารถเข้าใจและดูแลตนเองไม่ให้ป่วยเป็นมะเร็งต่อไป
 ปรางค์กู่
อ้างอิง จาก http://pineapple-eyes.snru.ac.th/alo/index.php?q=node/35

ปราสาทขอม

ปราสาทขอม

ปราสาทขอม เป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ ที่สร้างขึ้นโดยอาณาจักรเขมร ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นต้นมา พบมากในประเทศกัมพูชา และในเขตอีสานใต้ของประเทศไทย
ปราสาทขอมก่อสร้างด้วยวัสดุอิฐ ศิลาทราย และศิลาแลง ในศิลปะเขมร
ปราสาทหินพนมวัน

ประวัติศาสตร์ขอม

จากหลักฐานทางโบราณคดีทำให้ทราบว่าชนชาติขอมเริ่มรวมตัวเป็นอาณาจักรหรือรัฐ มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 โดยพัฒนามาจากเมืองท่าที่ติดต่อค้าขายกับอินเดีย มีความเจริญภายใต้พื้นฐานของอารยธรรมอินเดีย ใช้ชื่อว่า อาณาจักรฟูนัน มีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง (เวียดนามตอนใต้) และแม่น้ำโขงตอนใต้ (กัมพูชา) จนถึงบางส่วนในบริเวณของภาคอีสานตอนใต้ของประเทศไทย โดยมีเมืองออกแก้ว (ตะวันออกเฉียงใต้ของเวียดนาม) เป็นเมืองท่าในการติดต่อค้าขาย และมีราชธานีนามว่า“วยาธปุระ” ใกล้เขาบาพนมในประเทศกัมพูชา
อาณาจักรฟูนันมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศทั้งกับอินเดียและจีน หลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับอาณาจักรนี้ยังดูรางเลือนหาข้อสรุปไม่ได้แน่ชัดนัก ทราบแต่เพียงว่ากษัตริย์องค์สุดท้ายคือ รุทรวรมัน และนับถือศาสนาพราหมณ์ที่ได้รับมาจากอินเดียเป็นหลัก
พุทธศตวรรษที่ 12 อาณาจักรเจนฬา ซึ่งแต่เดิมเป็นรัฐหนึ่งของอาณาจักรฟูนัน มีอาณาบริเวณตั้งแต่เมืองจำปาศักดิ์-ภูเขาวัดภู และในปัจจุบันคือบริเวณทางตอนใต้ของประเทศลาวและทางภาคเหนือของประเทศเขมร และราชธานีของอาณาจักรเจนฬาคือ เมือง “เศรษฐปุระ” อาณาจักรเจนฬามีพื้นฐานอารยธรรมสืบต่อมาจากอาณาจักรฟูนันรวมทั้งการนับถือศาสนาพราหมณ์ด้วย
พระเจ้าภววรมัน ปฐมกษัตริย์ของเจนฬาได้ยึดวยาธปุระจากรุทรวรมัน ต่อมาพระอนุชาของภววรมันคือ พระเจ้ามเหนทรวรมันที่ 1 ได้เข้ายึดฟูนันและปราบปรามได้ ทำให้อาณาจักรเจนฬาได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าเดิม
จนล่วงพุทธศตวรรษที่ 13 อาณาจักรเจนฬาได้ถูกกษัตริย์ชวาจากราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งอาณาจักรชวาภาคกลางรุกราน จึงทำให้เจนฬาแตกออกเป็น ๒ ส่วนคือ เจนฬาบก และ เจนฬาน้ำ ส่วนของเจนฬาน้ำนั้นถูกชวายึดครองได้ นอกจากนี้อาณาจักรชวายังได้นำตัวรัชทายาทคือ เจ้าชายชัยวรมันที่ 2 ไปเป็นตัวประกันที่อาณาจักรชวาอีกด้วย ซึ่งเป็นระบบที่เรียกว่าตัวจำนำเพื่อรับรองความจงรักภักดีของอาณาจักรขอม
ต่อมาในปี พ.ศ. 1350 ชัยวรมันที่ 2 ได้ยกทัพขึ้นมาประกาศเอกราชจากอาณาจักรชวา และยังรวมอาณาจักรเจนฬาบกเจนฬาน้ำที่แตกแยกเข้าด้วยกัน สร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับอาณาจักรขอมใหม่ และขนานนามใหม่ว่า เมืองกัมโพชน์ตะวันออก โดยแยกตัวมาจากอาณาจักรลโวทย หรือละโว้ หรือปัจจุบันเรียกว่า ลพบุรี ซึ่งมีกัมโพชน์อยู่แล้ว
พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงเลือกตั้งราชธานีของเมืองกัมโพชน์ในบริเวณทางเหนือของทะเลสาบเขมร พระองค์ทรงขยายพระราชอำนาจขยายเข้าไปถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำ บริเวณอีสานใต้ของประเทศไทยด้วยในจังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์ ศรีษะเกษ

ลัทธิเทวราชา และการก่อสร้างปราสาทขอม

พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงสถาปนาลัทธิเทวราชา คือยกฐานะกษัตริย์ให้เป็นเทพเจ้าหรือเทวาราชา (Deva-Raja) เป็นกษัตริย์สูงสุด จึงเป็นการปูพื้นฐานระบบเทวราชาให้อาณาจักรอื่นๆเอาเป็นแบบอย่าง รวมถึงสยามของเราก็รับระบบนี้มาใช้ด้วยเช่นกัน ระบบเทวราชานี้มีส่วนทำให้พราหมณ์เข้ามามีบทบาทในราชสำนัก ในฐานะผู้เชี่ยวชาญศิลปศาสตร์ต่างๆ และประกอบพิธีราชาภิเษกให้กับกษัตริย์
ลัทธิเทวราชาหรือระบบเทวราชา ต่างจากลัทธิไศวนิกายแลไวษณพนิกาย คือ ก่อนหน้านั้นกษัตริย์เป็นเพียงมนุษย์ที่นับถือเทพเจ้า แต่ลัทธิราชานั้นถือว่ากษัตริย์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเทพเจ้าคือเทพเจ้าแบ่งภาคลงมาจุติเป็นกษัตริย์นั่นเอง เมื่อกษัตริย์เสวยราชย์แล้วต้องกระทำ ๓ สิ่ง คือ
  1. ขุดสระชลประทานหรือที่เรียกว่า บาราย นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขมรมีความยิ่งใหญ่ เพราะเนื่องจากเขมรก็ไม่นิยมตั้งถิ่นฐานใกล้แม่น้ำเท่าใดนัก ที่เมืองพระนครก็มีบารายขนาดใหญ่หลายบาราย เช่น บารายอินทรฏกะ มะละกอเต้นระบำ
  2. กษัตริย์ต้องสร้างศาสนสถานบนฐานเตี้ยๆ อุทิศถวายบรรพบุรุษ หรือปราสาทขอมสร้างบนฐานเตี้ยๆเพียงชั้นเดียว เช่น ปราสาทพะโค ที่พระเจ้าอินทรวรมันที่ ๑ สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับบรรพบุรุษของพระองค์
  3. และยังต้องสร้างศาสนสถานบนฐานเป็นชั้น หรือปราสาทขอมแบบยกฐานเป็นชั้นสูงหลายชั้นเพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้า หากเป็นศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายก็จะประดิษฐานศิวลึงค์ของสัญลักษณ์แห่งองค์พระอิศวร หรือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกายก็จะประดิษฐานเทว รูปพระวิษณุ และมีความเชื่อว่าเมื่อกษัตริย์สิ้นพระชนม์วิญญาณของพระองค์จะไปเสด็จรวมกับเทพเจ้าที่ปราสาทที่พระองค์สร้างไว้นั่นเอง เช่น พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ทรงสร้างปราสาทนครวัด อุทิศถวายแด่องค์พระวิษณุ เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ก็ทรงมีพระนามว่า บรมพิษณุโลก
จากเหตุผล 2 ข้อหลังนี้เองที่เป็นประเพณีที่กษัตริย์เขมรทุกพระองค์จะต้องสร้างปราสาทขอมอย่างน้อยที่สุด ๒ หลัง ส่วนรูปแบบของปราสาทขอมนั้น ก็พัฒนารูปแบบมาจากศาสนสถานในประเทศอินเดียที่เรียกกันว่า ศิขร เป็นศาสนสถานของศิลปะอินเดียในภาคเหนือ และ วิมาน เป็นศาสนาสถานของอินเดียภาคใต้ นอกจากนี้ก็ยังได้รับอิทธิพลของ จันฑิ ศาสนาสถานในศิลปะชวาเมื่อครั้งที่อาณาจักรเจนละตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรชวาด้วย
ด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้จึงก่อให้เกิดรูปแบบงานศิลปกรรมเขมรที่เรียกกันว่า ปราสาทขอม หรือก็คือ ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ ที่มีความสวยงามและคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นอย่างยิ่ง และเนื่องด้วยปราสาทขอมเหล่านี้สร้างด้วยวัสดุที่เป็นอิฐ ศิลาทราย และศิลาแลง (เป็นต้น) ซึ่งเป็นถาวรวัตถุจึงทำให้มีความคงทนจนถึงในปัจจุบัน
แต่ว่าปราสาทขอมก็มิได้มีเพียงในเขตของประเทศเขมรเท่านั้น ยังพบในบริเวณภาคอีสานของประเทศไทยก็มีปราสาทขอมอยู่มากมายด้วยเช่นกัน เนื่องจากในบางช่วงเวลาพระราชอำนาจของกษัตริย์ที่เมืองพระนครมีความเข้มแข็ง ทำให้อำนาจทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาโบราณที่มีเหนือดินแดนประเทศไทยขยายเข้ามา ด้วยเหตุนี้ปราสาทขอมจึงถูกสร้างขึ้นในดินแดนของประเทศไทยด้วย

อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%A1