นิรันดร์ ค้าโค g4

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

ไหว้พระธาตุสักสิทธิ์ นครพนม

ไหว้พระธาตุอีสาน 4 เมือง

พระธาตุที่ไม่มีพระบรมสารีริกธาตุ

พระธาตุเชิงชุม จ.สกนลนคร

พระธาตุท่าอุเทน จ.นครพนม

พระธาตุหนองสามหมื่น จ.ชัยภูมิ


พระธาตุยาคู จ.กาฬสินธุ์

พรธาตุศรีสองรัก จ.เลย

พระธาตุที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

พระธาตุพนม จ.นครพนม

พระธาตุนาดูน จ.มหาสารคาม

พระธาตุอีสาน

สำหรับพระธาตุในภาคอีสานนั้น ไม่ใช่เฉพาะพระธาตุที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ยังรวมถึงสถูป เจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ สร้าเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระอรหันต์หรือสร้างถวายสิ่งสักสิทธิ์ที่นับถือ รวมถึงสร้างในจุดที่สำคัญๆที่มีตำนาน ความเชื่อ และศาสนา

หอไตรกลางน้ำ


หอไตรที่ตั้งอยู่กลางสระน้ำ เพื่อเป็นการเก็บรักษาพระไตรปิฎก ป้องกันไม่ให้มดปลวกมากัดกินทำลาย ทำให้พระไตรปิฎกชำรุดเสียหายได้

สิมวัดขอนแก่นเหนือ

สิมน้ำ


สิมน้ำ เป็นสิมที่ตั้งอยู่กล่งน้ำ เช่น สระ หนอง บึง ส่วนใหญ่เป็นอาคารที่สร้างชั่วคราวสำหรับวัดที่ยังไม่มีวิสุงคามสีมา

สิมโถง

สิมโถงหรือสิมโปร่ง จะมีผนังเพียงด้านหลังเพียงด้านเดียว ส่วนด้านข้างและด้านหน้าจะเป็นผนังเตี้ยๆ ไม่มีประตู หน้าต่าง มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าเพียงด้านเดียว

สิมทึบ



สิมทึบ เป็นสิมที่มีผนังล้อม 4 ด้าน มีประตูทางขึ้นทางเดียว หน้าต่างบานเล็กๆ หรืออาจเป็นแค่ช่องแสง บางหลังมีการเขียนภาพจิตรกรรมผาผนังทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสิมอีสาน เรียกว่า "ฮูปแต้ม"

สิมบก

สิมบก มี 2 ลักษณะคือ สิมทึบ และสิมโถงกรือสิมโปร่ง

"สิม" สถาปัตยกรรมอีสาน

สิมอีสาน หรือ โบสถ์อีสาน มาจาการที่ทางอีสานเรียกโบสถ์ว่า "สิม" ลักษณะโดยทั่วไปของสิม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สิมบกและสิมน้ำ
สิม มาจากคำว่า สีมา สิมมา หรือพัธสีมา ที่ปรากฎในคำจารึกบนแผ่นหินที่ประกาศเจตนานุทิศ ของผู้สร้างปักไว้ด้านหลังสิม ที่ปรากฏอยู่ทั่วไป ความหมายของคำเหล่านี้ หมายถึง เขตแดนในการทำสังฆกรรมอันเป็นกิจของสงฆ์ โดยมีแผ่นหินเป็นเครื่องหมายแสดงขอบเขตรอบบริเวณตัวสิ

3.ลักษณะถาวร

เป็นเรือนเครื่องสับหรือเรือนไม้กระดานจำแนกเป็ 3 ชนิด คือ เฮือนเกย เฮือนแฝด เฮือนโข่ง ลักษณะใต้ถุนสูงเช่นเดียวกับเรือนภาคอื่นๆ เรือน เครื่องสับเหล่านี้ ไม่นิยมเจาะช่องหน้าต่างมักทำ หน้าต่างเป็นช่องแคบ ๆ ส่วนประตูเรือนทำเป็นช่องออกทางด้านหน้าเรือนเพียงประตูเดียว ภายในเรือนจึงค่อน ข้างมืด เพราะในฤดูหนาวมีลมพัดจัดและอากาศจัดจึงต้องทำเรือนให้ทึบและกันลมได้หลังคาเรือนทำเป็นทรงจั่วอย่างเรือนไทยภาคกลางมุงด้วยกระเบื้องดินเผาหรือกระเบื้องไม้สักจั่วกรุด้วยไม้ตีเกล็ดเป็นรูปรัศมีของอาทิตย์ทั้งสองด้าน รอบหลังคาไม่มีชายคาหรือปีกนกยื่นคลุมตัวบ้านเหมือนอย่างเรือนไทยภาคกลาง

2.ลักษณะกึ่งถาวร

คือกระต๊อบ หรือเรือนเล็ก ไม่มั่นคงแข็งแรงนัก มีชื่อเรียก " เรือนเหย้า" หรือ " เฮือนย้าว" หรือ "เย่าเรือน " อาจเป็นแบบเรือนเครื่องผูก หรือเป็นแบบเรือนเครื่องสับก็ได้ เรือนเหย้ากึ่งถาวรยังมี " ตูบต่อเล้า " ซึ่งเป็นเพิงที่สร้างอิงกับตัวเล้าข้าว และ "ดั้งต่อดิน" ซึ่งเป็น เรือนที่ตัวเสาดั้งจะฝังถึงดินและใช้ไม้ท่อนเดียวตลอดสูงขึ้นไปรับอกไก่ เป็นเรือนพักอาศัยที่แยกมาจากเรือนใหญ่ เรือนเหย้ากึ่งถาวรอีกประเภทหนึ่ง คือ "ดั้งตั้งคาน" หรือ ดั้งตั้งขื่อ" ลักษณะคล้ายเรือนเกยทั่วไป แต่พิถีพิถันน้อยกว่า อยู่ในประเภทของเรือนเครื่องผูก แตกต่างจากเรือนดั้งต่อดิน ตรงที่เสาดั้งต้นกลาง จะลงมาพักบนคานของด้านสะกัด ไม่ต่อถึงดิน

สถาปัตยกรรมอีสาน

1. ลักษณะชั่วคราว


สร้างไว้ใช้เฉพาะบางฤดูกาล เช่น " เถียงนา" หรือ "เถียงไฮ่" ทำยกพื้นสูงเสาไม้จริง โครงไม้ไผ่หลังคามุงหญ้าหรือแป้นไม้ที่รื้อมา จากเรือนเก่า พื้นไม้ไผ่สับฟาก ใบไม้ ทำฝาโล่งหากไร่นาไม่ไกลสามารถไปกลับ ได้ มีอายุใช้งาน 1-2 ปี สามารถรื้อซ่อมใหม่ได้ง่าย

ประเภทของเรือนอีสาน

ในอีสานนั้นมีลักษณะเรือนที่เเตกต่างกันตามสภาวะสิ่งเเวดล้อมต่างๆ เช่น

เรือนไทยภาคอีสาน สถาปัตยกรรมไทย

เรือนไทยภาคอีสาน เป็นหนึ่งในเรือนไทย 4 ภาคของไทย แบ่งออกได้เป็นการปลูกเรือนในลักษณะชั่วคราว กึ่งถาวร และถาวร